บทพิสูจน์พระสมเด็จฯ ตามหลักวิทยาศาสตร์
พระสมเด็จฯ เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ เนื่องจากโครงสร้างหลักของพระสมเด็จฯ นั้น ทำมาจากปูนเปลือกหอยหรือหินปูนเป็นหลัก โดยการนำเปลือกหอยมาเผาไฟ แล้วนำมาตำหรือบดให้ละเอียด เปลือกหอยเผาสุก จะเป็นสีขาวหรือปูนขาวนั่นเอง ปูนขาว หรือหินปูน ประกอบด้วย Cao 56% + Co2 44% = CaCo3 มาดูกันว่าคืออะไร
Cao คือ แคลเซียมออกไซด์ Co2 คือ คาร์บอนไดออกไซด์ CaCo3 คือ แคลเซียมคาร์บอเนต จาก แคลเซียมคาร์บอเนต เมื่อผ่านการเวลาที่ยาวนานก็จะเปลี่ยนไปเป็นแคลไซต์ (Calcite) และ Calcite เป็นกลุ่มแร่ที่เสถียรที่สุดในกลุ่มแร่คาร์บอเนต เมื่อเราใช้กล้องขยายกำลังสูง หรือกล้องจุลทัศน์ ก็จะเห็นได้ว่า มีความมันวาว เป็นผลึกซ้อนๆ กัน หนาหรือบาง ขึ้นอยู่ที่อายุ เกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมี ผิวพระสมเด็จจึงเป็นมันวาวสีรุ้ง